โครงสร้างสถาบันผลิตผลเกษตรฯ

หน่วยงานภายใน

         สถาบันผลิตผลค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มีการแบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 3 ฝ่าย และ 1 สำนักงาน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

ฝ่ายเทคโนโลยีชีวมวลและพลังงานชีวภาพ  ประกอบด้วย 5 หน่วยดังนี้

1)  ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีแป้ง น้ำตาล และข้าว

       วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของแป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล และยางพารา โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานน้ำตาลไทย การผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากผลพลอยได้จากการสกัดน้ำตาล ตลอดจนงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำยางธรรมชาติ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางที่ผ่านการแปรรูป
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3, 02-940-5634

 

2)  ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเส้นใย กระดาษ และสิ่งทอ

         การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์วัตถุดิบทางการเกษตรเพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอโดยเน้นด้านการผลิตเส้นใยเพื่อสิ่งทอ การเคมีสิ่งทอ การปั่นด้ายและการทอผ้าและด้านอุตสาหกรรมกระดาษ  มุ่งเน้นการพัฒนาการใช้ประโยชน์เส้นใยจากไม้และไม่ใช่ไม้เพื่อการผลิตเยื่อกระดาษที่เหมาะสม รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเศษกระดาษชนิดต่างๆ เพื่อกิจกรรมอุตสาหกรรมกระดาษ และการปรับปรุงคุณภาพให้มีประสิทธิภาพด้านอุตสาหกรรมกระดาษพื้นบ้าน  มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากชีวมวลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มาผลิตเยื่อโดยกระบวนการที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม สู่การผลิตกระดาษด้วยมือทั้งแบบไทย ญี่ปุ่น และตะวันตก ซึ่งกระดาษที่ได้สามารถนำไปใช้ในงานหัตถกรรม บรรจุภัณฑ์ และการทำกระดาษพิเศษให้มีคุณสมบัติเหมาะต่อการใช้งานเฉพาะอย่าง
        สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 601-605

 

3) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสมุนไพรและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

        การวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสารสกัดธรรมชาติจากพืชสมุนไพร รวมทั้งวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนามาตรฐานงานวิจัยด้านสมุนไพรอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นเลิศทางวิชา การ และให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อขยายงานวิจัยสู่สังคม เกี่ยวกับเคมีเบื้องต้นของสารสกัดและน้ำมันหอมระเหย ขั้นตอนการผลิตสารสกัดและน้ำมันหอมระเหยจากพืช ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากพืช การตรวจสอบคุณภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการใช้ประโยชน์
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 401-407

 

4) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยียางพารา และพอลีเมอร์ชีวภาพ

       การพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีพอลิเมอร์และเส้นใยธรรมชาติ การใช้ประโยชน์และการเพิ่มมูลค่าของเส้นใยธรรมชาติโดยการผสมกันเช่นไหมและฝ้าย เพื่อปรับปรุงสมบัติทางด้านสิ่งทอ รวมทั้งการผลิตวัสดุเชิงประกอบของเส้นใยกับพอลิเมอร์ชนิดต่างๆ เช่น polyethylene, polypropylene, polycaprolactone และ polylatide เป็นต้น เพื่อผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ และเชิงกล
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3, 02-940-5634

 

5) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพืชพลังงานและไม้โตเร็ว

       วิจัยและพัฒนาพืชพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม โดยเน้นไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ การพัฒนาระบบการปลูกและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุดตลอดจนการศึกษาผลกระทบของระบบการปลูกแบบสวนไม้โตเร็วรูปแบบต่าง ๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และประเมินผลตอบแทนทางสังคมและเศรษฐกิจ
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 101
 

ฝ่ายนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีชีวภาพ  ประกอบด้วย 4 หน่วย ดังนี้

1) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืช

        สร้างมาตรฐานงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลเกษตรที่ไม่ใช่อาหาร ผลิตพืชและจุลินทรีย์พันธุ์ดีในเชิงพาณิชย์ ให้บริการวิชาการแก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไป เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ เสริมสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน
         สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 301-305

 

2) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

        การประยุกต์ใช้สมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบต่างๆ การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ การทดสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีต่อผิวหนัง การทดสอบทางประสาทสัมผัส และการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคและการทดสอบตลาด
        สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 807-808

 

3) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์และจุลินทรีย์

        ทำการผลิตเอนไซม์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม, การใช้เทคโนโลยีเอนไซม์เพื่อเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร, การประยุกต์ใช้เอนไซม์ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม และการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งโดยวิธีการทางชีวภาพ
        สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 701-707

 

4) ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าโดยวิธีไม่ทำลาย

        เทคนิคการตรวจสอบคุณภาพสินค้าด้วยวิธีไม่ทำลาย (Non-destructive Quality Evaluation Technology) โดยเฉพาะการใช้แสงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ Near Infrared (NIR) Spectroscopy เพื่อใช้ในกระบวนการควบคุมและประกันคุณภาพสินค้า ซึ่งเทคนิค NIR สามารถให้ผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว  แม่นยำเชื่อถือได้ ทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมี และลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว ซึ่งเหมาะกับยุคการแข่งขันในเวทีทางการค้าโลกปัจจุบัน
        สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 501-507

 

ฝ่ายวิจัยเชิงพาณิชย์และการจัดการสารสนเทศ ประกอบด้วย 3 หน่วย ดังนี้

1) งานวิจัยเชิงพาณิชย์

        การสำรวจวิเคราะห์ตลาด และการประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ และการวิจัยพัฒนา สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
        สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 213

 

2) งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

        การวิจัย จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลด้านผลิตผลการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่สังคม ตลอดจนการวิจัยเชิงประยุกต์โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการและสร้างมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
        สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 213

 

3) งานบ่มเพาะและถ่ายทอดเทคโนโลยี

        ประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือการวิจัย กับหน่วยงานภายนอก  เพื่อผลักดันให้เกิดเครือข่ายงานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ  และ ยังเป็นประตูการร่วมทุนกับภาคเอกชน
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3 ต่อ 207

 

สำนักงานเลขานุการ

1. งานบริหารและยุทธศาสตร์องค์กร

    – หน่วยสารบรรณและทรัพยากรบุคคล
      ให้บริการทางด้านระบบเอกสาร ด้านธุรการทั่วไป ด้านทะเบียนประวัติบุคคล  ด้านการฝึกอบรม  ด้านประกันสังคม/สวัสดิการ ด้านนิติการ และด้านการจัดการความรู้
    – หน่วยนโยบายและแผน
      ให้บริการทางด้านแผน ด้านประกันคุณภาพ ด้านบริหารการวิจัย/บริการวิชาการ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้านความร่วมมือเครือข่าย ด้านคลังข้อมูลและการประเมินผล ด้านเลขานุการผู้บริหาร ด้านสัมมนาประจำปี ด้านบริหารความเสี่ยง
    – หน่วยสื่อสารองค์กรและการต่างประเทศ
      เป็นหน่วยงานเชิงรุกที่บูรณาการการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ ส่งเสริมผลงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศและการต่างประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการรายได้เพื่อพึ่งพาตนเอง

2. งานคลังและพัสดุ

    – หน่วยการเงินและบัญชี
      ให้บริการทางด้านบริหารการเงิน ด้านบริหารบัญชี ด้านการควบคุมภายใน ด้านบริหารเงินกองทุนพัฒนาฯ
    – หน่วยพัสดุและอาคารสถานที่
      ให้บริการทางด้านบริหารการจัดซื้อ/จัดจ้าง ด้านการบริหารแผนครุภัณฑ์ ด้านงานทะเบียนครุภัณฑ์ ด้านบริหารรายได้จากทรัพย์สิน ด้านบริหารอาคาร สถานที่ ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านบริการยานพาหนะ ด้านงานสวนและรักษาความสะอาด ด้านดูแลรักษา ซ่อมบำรุง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3

 

ศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน (Special Research Unit) เครือข่าย

       ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานความร่วมมือ การวิจัยและพัฒนาเฉพาะทาง ระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกประกอบด้วย ดังนี้
       – ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเทคโนโลยีการจัดการชีวมวลเพื่อพลังงานและพืชพลังงาน
       – ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง
       – ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเทคโนโลยีด้านพอลิเมอร์และคอมพอสิท
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3

 

เครือข่ายความร่วมมือในประเทศ และต่างประเทศ ประกอบไปด้วย

       – หน่วยปฏิบัติเทคโนโลยีการแปรรูปมันสำปะหลังและแป้ง (ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ : ศช.) ประเทศไทย
       – Centre de Cooperation Internationale en Recherche Agronomique pour le Developpement (CIRAD) ประเทศฝรั่งเศส
       – The Japan International Research Center for Agricultural Sciences (JIRCAS) ประเทศญี่ปุ่น
       สอบถามเพิ่มเติม: 02-9428600-3