การ บริการตรวจวิเคราะห์ ของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (สถาบันผลิตผลเกษตรฯ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เฉพาะทาง ที่มีเครื่องมือพื้นฐาน และเครื่องมือวิเคราะห์ระดับสูง รวมทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมให้ บริการตรวจวิเคราะห์ ในด้านต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ ตรวจวิเคราะห์ด้านคุณภาพวัตถุดิบ และตรวจวิเคราะห์ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์
สถาบันผลิตผลเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้บริการตรวจวิเคราะห์ ด้านการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบประเภทต่างๆ ได้แก่ วัตถุดิบไม้ วัตถุดิบเชื้อเพลิงชีวมวล วัตถุดิบสมุนไพร วัตถุดิบทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร วัตถุดิบเส้นใย เป็นต้น แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตรอื่นๆ ให้สามารถรองรับ มาตรฐานการส่งออก มาตรการผลิต และใช้ภายในประเทศไทย รวมถึงยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
การตรวจสอบหรือบริการตรวจวิเคราะห์ วัตถุดิบไม้ และเชื้อเพลิงชีวมวล ได้รับมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ ISO 17025 ที่สามารถทำการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติเชื้อเพลิงต่างๆ ได้แก่ ปริมาณลิกนิน ปริมาณโฮโลเซลลูโลส ปริมาณอัลฟาเซลลูโลส ปริมาณเพนโตแซน ความหนาแน่น (Bulk density) ค่าความร้อนแบบกรอส (Gross calorific value, GCV) ค่าความร้อนแบบเนท (Net calorific value, NCV) ปริมาณความชื้น (Moisture content) ปริมาณสารระเหย (Volatile matter) ปริมาณเถ้า (Ash content) ปริมาณคาร์บอนคงตัว (Fixed carbon) ปริมาณคาร์บอน (Carbon) ปริมาณไฮโดรเจน (Hydrogen) ปริมาณไนโตรเจน (Nitrogen) ปริมาณกำมะถัน (Sulfur) ปริมาณออกซิเจน (Oxygen) ปริมาณคลอไรด์ (Chloride, Solution technique) ปริมาณคลอไรด์ (Chloride, Combustion) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการให้บริการตรวจวิเคราะห์ วัตถุดิบสมุนไพร และวัตถุดิบทางการเกษตรอื่นๆ ให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสารสกัดจากธรรมชาติ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และความงาม โดยมีการให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพวัตถุดิบต่าง ๆ ได้แก่
นอกจากการให้บริการตรวจวิเคราะห์ ด้านคุณภาพวัตถุดิบแล้ว สถาบันผลิตผลเกษตรฯ ยังให้บริการตรวจวิเคราะห์ ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เส้นใยและผ้า ผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง และงานประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบ โดยวิธีไม่ทำลายในการตรวจสอบวัตถุดิบ เป็นต้น โดยให้บริการตรวจค่าพารามิเตอร์ต่างที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ได้แก่ ความแข็งแรงของเส้นด้าย (Tensile strength and elongation) ความแข็งแรงของผ้า (Tensile strength elongation) ความต้านแรงฉีกขาดของผ้า (Tearing strength) ขนาดของเส้นด้าย (Yarn numbers) ของผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ความต้านทานแรงดันทะลุกระดาษ (Burst index) ความทนทานต่อการหักพับกระดาษ (Folding index) ความต้านทานแรงดึงกระดาษ (Tensile index) ความต้านทานแรงฉีกขาดกระดาษ (Tear index) ของผลิตภัณฑ์กระดาษ การทดสอบความชุ่มชื้นผิว การทดสอบสีผิว การทดสอบควบคุมความมัน ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นต้น
โดยสามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อขอรับ บริการตรวจวิเคราะห์ ได้ในทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 น. – 16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ